สระบุรีชุมชนเข้มแข็ง
หลักการและเหตุผล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดวิสัยทัศน์ เพื่อรองรับการพัฒนามหาวิทยาลัยระหว่างปี พ.ศ. 2555-2570 ไว้ว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งความรู้และแหล่งอ้างอิงของแผ่นดิน เป็นผู้นำทางปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ดังกล่าว 6 ด้าน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ ก้าวไกล ยกย่อง คล่องตัว มั่นคง เกื้อกูล และเป็นสุขดังนั้นนอกจากการสร้างและพัฒนาบัณฑิต การพัฒนางานวิจัยสู่ความเป็นเลิศในระดับชาติและระดับนานาชาติ การพัฒนาด้านการบริหารจัดการสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศแล้ว ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของสังคม มหาวิทยาลัยยังมุ่งเน้นสู่การเกื้อกูลและให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน (University social responsibility and sustainability, USR&R) โดยได้กำหนดนโยบาย การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะชุมชนโดยรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย ได้แก่พื้นที่เขตปทุมวันและเขตหลังสวน กรุงเทพมหานคร พื้นที่ของมหาวิทยาลัยที่กำลังพัฒนาใหม่ในเขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในจังหวัดน่าน
ทั้งนี้ สำหรับการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยในเขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่สระบุรี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่เชื่อมโยงระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดสระบุรีในด้านต่างๆ ดังนี้
ในสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยและสังคมโลก กลไกที่สำคัญในขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมไทยอยู่เย็นเป็นสุข ด้วยวิถีปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ การสร้าง “สังคมชุมชนเข้มแข็ง” ผ่านยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ชุมชนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาชุมชน ร่วมกับการบริหารจัดการอย่างเป็นธรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ก่อตั้ง “โครงการสระบุรีชุมชนเข้มแข็ง” โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ เพิ่มพลังทางปัญญาให้กับชุมชน เน้นกระบวนการเรียนรู้ชุมชนควบคู่ไปกับการปฏิบัติโดยมีพื้นที่เป็นตัวตั้งและชุมชนชาวบ้านเป็นศูนย์กลางผ่านกลยุทธ์ของกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่เน้นให้ชุมชนชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของปัญหาเป็นผู้กำหนด คัดเลือกปัญหา และลงมือทำวิจัยด้วยตนเองร่วมกับสมาชิกในชุมชน โดยมีพี่เลี้ยง ผู้ประสานงาน นักวิชาการ (จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สสส.) และหน่วยงานที่ทำงานในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และศูนย์อนามัยและสำนักงานสิ่งแวดล้อม เข้ามาร่วมกันทำงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของทั้งคนนอกและคนในชุมชน คนนอกชุมชนจะต้องเข้าไปเรียนรู้และเสริมสร้างสนับสนุนการวิจัยของคนในชุมชน คนในชุมชนจะได้รับการพัฒนาเป็นนักวิจัยท้องถิ่น/ทีมวิจัยในพื้นที่ที่สามารถสร้างองค์ความรู้และสืบสานองค์ความรู้สู่คนรุ่นใหม่ สร้างเครือข่ายการทำงานในชุมชนและระหว่างชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงาน การแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างชุมชน รวมถึงการสร้างทางเลือกในการจัดการต่างๆเพื่อนำไปปรับแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างบูรณาการด้วยทุนทางทรัพยากรและศักยภาพของชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ด้านต่างๆ เช่น การจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจการทำมาหากินมีการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองอย่างพอเพียง พึ่งพาตนเองได้ มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกชุมชนบนพื้นฐานการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เกิดความสมานฉันท์ มีการอนุรักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสมยั่งยืนนำไปสู่สภาวะดินดำน้ำชุ่ม ป่าไม้ พืชพรรณ สัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ และสิ่งแวดล้อมน่าอยู่ปลอดมลภาวะ สามารถแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีบูรณาการ มีภูมิคุ้มกันสามารถต้านรับและใช้ประโยชน์จากกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างรู้เท่าทัน และมีบทบาทที่เข้มแข็งในการพัฒนาประเทศตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากองค์กรท้องถิ่นในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ทั้งนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สามารถทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ผู้ประสานงาน นักวิชาการ และที่ปรึกษาด้านวิชาการและประสานงานการดำเนินการในชุมชนและท้องถิ่น
การดำเนินงานของโครงการสระบุรีชุมชนเข้มแข็ง ในระยะแรกจะเริ่มดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 3 ตำบลที่อยู่รอบพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ ตำบลชำผักแพว ตำบลตาลเดี่ยว และตำบลห้วยแห้ง โดยมุ่งเป้ากรอบการสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนใน 4 ด้าน คือ การศึกษา สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาสู่ตำบลต้นแบบของชุมชนเข้มแข็ง และจะขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆต่อไป
ทั้งนี้ สำหรับการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยในเขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่สระบุรี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่เชื่อมโยงระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดสระบุรีในด้านต่างๆ ดังนี้
- การพัฒนาด้านสภาพแวดล้อม อนุรักษ์ระบบนิเวศ พรรณไม้ และสัตว์ชนิดต่างๆ เพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นธรรมชาติให้กับจังหวัดสระบุรี
- การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ โดยส่งเสริม ประยุกต์และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยสู่การปฏิบัติโดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรดังเดิมที่มีอยู่
- การพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ชุมชน การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน โดยผ่านการทำงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ทั้งในด้านการประกอบอาชีพ สังคม และวัฒนธรรมวิถีชีวิต
- การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต อาศัยหลักการของบริการอนามัยเบ็ดเสร็จและเวชศาสตร์ป้องกัน มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะ (ทั้ง 4 มิติของสุขภาพ) ประชาชนโดยประชาชน
ในสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยและสังคมโลก กลไกที่สำคัญในขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมไทยอยู่เย็นเป็นสุข ด้วยวิถีปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ การสร้าง “สังคมชุมชนเข้มแข็ง” ผ่านยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ชุมชนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาชุมชน ร่วมกับการบริหารจัดการอย่างเป็นธรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ก่อตั้ง “โครงการสระบุรีชุมชนเข้มแข็ง” โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ เพิ่มพลังทางปัญญาให้กับชุมชน เน้นกระบวนการเรียนรู้ชุมชนควบคู่ไปกับการปฏิบัติโดยมีพื้นที่เป็นตัวตั้งและชุมชนชาวบ้านเป็นศูนย์กลางผ่านกลยุทธ์ของกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่เน้นให้ชุมชนชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของปัญหาเป็นผู้กำหนด คัดเลือกปัญหา และลงมือทำวิจัยด้วยตนเองร่วมกับสมาชิกในชุมชน โดยมีพี่เลี้ยง ผู้ประสานงาน นักวิชาการ (จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สสส.) และหน่วยงานที่ทำงานในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และศูนย์อนามัยและสำนักงานสิ่งแวดล้อม เข้ามาร่วมกันทำงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของทั้งคนนอกและคนในชุมชน คนนอกชุมชนจะต้องเข้าไปเรียนรู้และเสริมสร้างสนับสนุนการวิจัยของคนในชุมชน คนในชุมชนจะได้รับการพัฒนาเป็นนักวิจัยท้องถิ่น/ทีมวิจัยในพื้นที่ที่สามารถสร้างองค์ความรู้และสืบสานองค์ความรู้สู่คนรุ่นใหม่ สร้างเครือข่ายการทำงานในชุมชนและระหว่างชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงาน การแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างชุมชน รวมถึงการสร้างทางเลือกในการจัดการต่างๆเพื่อนำไปปรับแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างบูรณาการด้วยทุนทางทรัพยากรและศักยภาพของชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ด้านต่างๆ เช่น การจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจการทำมาหากินมีการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองอย่างพอเพียง พึ่งพาตนเองได้ มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกชุมชนบนพื้นฐานการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เกิดความสมานฉันท์ มีการอนุรักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสมยั่งยืนนำไปสู่สภาวะดินดำน้ำชุ่ม ป่าไม้ พืชพรรณ สัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ และสิ่งแวดล้อมน่าอยู่ปลอดมลภาวะ สามารถแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีบูรณาการ มีภูมิคุ้มกันสามารถต้านรับและใช้ประโยชน์จากกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างรู้เท่าทัน และมีบทบาทที่เข้มแข็งในการพัฒนาประเทศตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากองค์กรท้องถิ่นในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ทั้งนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สามารถทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ผู้ประสานงาน นักวิชาการ และที่ปรึกษาด้านวิชาการและประสานงานการดำเนินการในชุมชนและท้องถิ่น
การดำเนินงานของโครงการสระบุรีชุมชนเข้มแข็ง ในระยะแรกจะเริ่มดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 3 ตำบลที่อยู่รอบพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ ตำบลชำผักแพว ตำบลตาลเดี่ยว และตำบลห้วยแห้ง โดยมุ่งเป้ากรอบการสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนใน 4 ด้าน คือ การศึกษา สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาสู่ตำบลต้นแบบของชุมชนเข้มแข็ง และจะขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆต่อไป
วัตถุประสงค์ทั่วไป
- เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนอำเภอแก่งคอยให้เข้มแข็งเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ด้วยกระบวนการเรียนรู้และการจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนบนฐานของการพึ่งตนเอง ตลอดจนการพึ่งพาซึ่งกันและกันในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
- พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน อำเภอแก่งคอย และคุณภาพชีวิตบนฐานความเข้มแข็งของชุมชนและการใช้ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีดุลยภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ อย่างบูรณาการ
- เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชน อำเภอแก่งคอยในการอยู่ร่วมกันกับระบบนิเวศได้อย่างเกื้อกูล สามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟู เข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน นำไปสู่สังคมที่น่าอยู่สงบสุขและสมานฉันท์
- เพื่อพัฒนาให้ชุมชน อำเภอแก่งคอย เป็นต้นแบบของชุมชนเข้มแข็ง และขยายผลไปสู่ ชุมชนอื่นๆต่อไป
วัตถุประสงค์เฉพาะ
- เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง
- เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลองค์กรชุมชน ให้มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาคีในพื้นที่
- เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ชุมชนและกำหนดตัวชี้วัดเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ชุมชน ผ่านกระบวนการทำงานร่วมกัน กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถ่ายทอด/ประยุกต์องค์ความรู้ที่เหมาะสมในการดำเนินการระหว่างชุมชน พี่เลี้ยง และนักวิชาการ
- เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการเรียนรู้ชุมชน รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งในพื้นที่
- เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนรู้ชุมชน
- สนับสนุนให้คณะ หน่วยงาน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และของพื้นที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย
- ชุมชนชาวบ้าน ท้องถิ่น และ หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดสระบุรี (นำร่อง : อำเภอแก่งคอย)
- คณะ สถาบัน หน่วยงาน บุคลากร นิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระยะเวลาดำเนินการ
24 เดือน ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2556 - มกราคม 2558
กรอบแนวคิดการดำเนินการ
--- CHART ---
แนวทางการดำเนินการ
- กำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน คณะทำงานและผู้ประสานงาน โครงการสระบุรีชุมชนเข้มแข็ง ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะทำงานทบทวนโครงการสร้างความเข้มแข็งชุมชนที่หน่วยงาน / กลุ่มคน / ชมรมต่างๆ ได้ดำเนินการในอดีต และที่กำลังดำเนินการอยู่
- คณะทำงานศึกษาสภาพปัญหาเบื้องต้นร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในพื้นที่เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจัดลำดับความสำคัญและกำหนดขอบ เขตพื้นที่การพัฒนา
- จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและกำหนดขอบเขตพื้นที่การพัฒนา
- ชี้แจงรายละเอียดโครงการ นำเสนอข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ และขอบเขตการพัฒนาต่อคณะกรรมการฯเพื่อขอความเห็นและข้อเสนอแนะ
- ประชาสัมพันธ์ และเปิดรับโครงการ เพื่อค้นหานักวิชาการที่สนใจเข้าร่วมและดำเนินงานโครงการสร้างความเข้มแข็งชุมชนตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับการพัฒนาในโครงการ “สระบุรีชุมชนเข้มแข็ง” ที่เน้นกรอบการพัฒนา 4 ด้าน คือ การศึกษา สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และเศรษฐกิจ โดยเปิดโอกาสให้คณะและหน่วยงานต่างๆดำเนินการในเรื่องที่ถนัด
- พัฒนาโจทย์วิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่าง นักวิชาการ/นักวิจัย ชุมชนชาวบ้าน โดยมีเครือข่ายนักวิจัยและผู้ประสานงานเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน
- พัฒนาโครงร่างงานวิจัย เพื่อยื่นเสนอต่อคณะกรรมการฯเพื่อพิจารณา รับรอง และอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ โดยให้ทีมวิจัยทำสัญญารับทุนกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- แต่ละโครงการวิจัยย่อยดำเนินการวิจัย
- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโครงการฯ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ
- คณะกรรมการฯประเมินผลโครงการวิจัยย่อยเป็นระยะ
- คณะกรรมการฯประเมินผลโครงการในภาพรวมทั้งหมดและสรุปรูปแบบที่สมบูรณ์ต่อการจัดการเรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็ง
- การบริหารจัดการเข้าสู่ระบบงานของมหาวิทยาลัย
แผนการปฏิบัติงาน
--- CHART ---
ผลที่คาดว่าจะได้รับและตัวชี้วัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อการดำเนินงานเสร็จสิ้นที่เป็นรูปธรรม และตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลลัพธ์
การเสริมสร้างความสามารถ – ทักษะหรือขีดความสามารถของชุมชนชาวบ้านด้านการจัดการเรียนรู้ชุมชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ผลลัพธ์เชิงแนวคิด – ชุมชนชาวบ้านมีความเข้าใจในการจัดการชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป และความสัมพันธ์ เครือข่ายที่ดีร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลลัพธ์เชิงพฤติกรรม – ชุมชนชาวบ้านมีแนวทางปฏิบัติด้านการจัดการชุมชนเข้มแข็งที่ชัดเจนขึ้น
ผลลัพธ์เชิงสถาบัน - อปท./หน่วยงานในพื้นที่/เจ้าของพื้นที่มีการบัญญัติหรือกำหนดนโยบายหรือแนวทางการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนร่วมกับชุมชนหรือแถลงนโยบายเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะในตอนหาเสียงเลือกตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยของรัฐที่สามารถสร้างสังคมชุมชนเข้มแข็งได้อย่างเป็นรูปธรรม
ผลกระทบ
ผลกระทบทางสังคม – สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอปท. สร้างความไว้วางใจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน ภายในชุมชน ระหว่างชุมชนด้วยกัน และระหว่างชุมชนกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอปท. ตลอดจนชุมชนมีภูมิคุ้มกันพร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม –ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้รับการตระหนัก เฝ้าระวัง ดูแล แก้ไข และป้องกันชุมชนชาวบ้านมีความแตกฉานด้านสุขภาวะสิ่งแวดล้อม (Environmental health literacy)และมีสิ่งแวดล้อมทีดี
ผลกระทบทางด้านการศึกษา - มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีเครือข่ายการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการพัฒนาระบบการศึกษาทั้งในโรงเรียน และนอกโรงเรียน กลุ่มปราชญ์ กลุ่มแกนนำและผู้รู้ได้ถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้และการจัดการความรู้ในชุมชน โดยเชื่อมโยงความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่จริง ควบคู่กับการค้นหาผู้นำตามธรรมชาติรุ่นใหม่ที่เข้มแข็ง มีคุณธรรมจริยธรรม มีความเพียร และมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้เป็นพลังขับเคลื่อนและขยายผลกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชนในวงกว้างและระยะยาว
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ – มีการบูรณาการกระบวนการผลิตบนฐานศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนอย่างสมดุล เน้นการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างพอเพียงภายในชุมชน สร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการลงทุนสร้างอาชีพและรายได้ที่มีการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมแก่ชุมชน
ผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ที่เป็นนามธรรมได้แก่ ชุมชนชาวบ้านสามารถเป็นผู้ขับเคลื่อนและมีส่วนร่วมในการทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการได้และปัญหาของท้องถิ่นได้รับการแก้ไข
- ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ 1) กรอบแนวคิดต้นแบบของงานด้านการสร้างความเข้มแข็ง 2) โครงการย่อยและกิจกรรมนำร่องที่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยสู่การปฏิบัติและ 3) จำนวนและผลงานของโครงการย่อยและกิจกรรมภายใต้โครงการที่สามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้น
- ชุมชนชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจในกรอบความคิดเพิ่มขึ้นและมีความสามารถ/ศักยภาพในการทำการวิจัยท้องถิ่น
- ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถจัดให้มีโครงสร้างการบริหารงาน และทีมวิจัยด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในชุมชนได้ และเหมาะสมตามสภาพแวดล้อมของแต่ละแห่ง
- ชุมชนชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการมีขีดความสามารถในการค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา จัดทำแผน และดำเนินงานตามแผนได้ด้วยตนเอง
- ชุมชนชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ สามารถสรุปบทเรียน และจัดทำรูปแบบการดำเนินงานด้าน การสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน และการจัดการเรียนรู้ชุมชนในท้องถิ่นตน ที่สามารถเป็นตัวอย่างและแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนอื่นได้
ผลลัพธ์
การเสริมสร้างความสามารถ – ทักษะหรือขีดความสามารถของชุมชนชาวบ้านด้านการจัดการเรียนรู้ชุมชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ผลลัพธ์เชิงแนวคิด – ชุมชนชาวบ้านมีความเข้าใจในการจัดการชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป และความสัมพันธ์ เครือข่ายที่ดีร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลลัพธ์เชิงพฤติกรรม – ชุมชนชาวบ้านมีแนวทางปฏิบัติด้านการจัดการชุมชนเข้มแข็งที่ชัดเจนขึ้น
ผลลัพธ์เชิงสถาบัน - อปท./หน่วยงานในพื้นที่/เจ้าของพื้นที่มีการบัญญัติหรือกำหนดนโยบายหรือแนวทางการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนร่วมกับชุมชนหรือแถลงนโยบายเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะในตอนหาเสียงเลือกตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยของรัฐที่สามารถสร้างสังคมชุมชนเข้มแข็งได้อย่างเป็นรูปธรรม
ผลกระทบ
ผลกระทบทางสังคม – สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอปท. สร้างความไว้วางใจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน ภายในชุมชน ระหว่างชุมชนด้วยกัน และระหว่างชุมชนกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอปท. ตลอดจนชุมชนมีภูมิคุ้มกันพร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม –ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้รับการตระหนัก เฝ้าระวัง ดูแล แก้ไข และป้องกันชุมชนชาวบ้านมีความแตกฉานด้านสุขภาวะสิ่งแวดล้อม (Environmental health literacy)และมีสิ่งแวดล้อมทีดี
ผลกระทบทางด้านการศึกษา - มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีเครือข่ายการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการพัฒนาระบบการศึกษาทั้งในโรงเรียน และนอกโรงเรียน กลุ่มปราชญ์ กลุ่มแกนนำและผู้รู้ได้ถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้และการจัดการความรู้ในชุมชน โดยเชื่อมโยงความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่จริง ควบคู่กับการค้นหาผู้นำตามธรรมชาติรุ่นใหม่ที่เข้มแข็ง มีคุณธรรมจริยธรรม มีความเพียร และมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้เป็นพลังขับเคลื่อนและขยายผลกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชนในวงกว้างและระยะยาว
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ – มีการบูรณาการกระบวนการผลิตบนฐานศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนอย่างสมดุล เน้นการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างพอเพียงภายในชุมชน สร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการลงทุนสร้างอาชีพและรายได้ที่มีการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมแก่ชุมชน