ประชุมการบูรณาการงานด้านสระบุรี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Written by สระบุรีชุมชนเข้มแข็ง on Monday, 19 August 2013. Posted in กิจกรรมและประชาสัมพันธ์

เมื่อวันพฤหัสที่ 13 กันยายน 2555 ทางโครงการสระบุรีชุมชนเข้มแข็งได้จัดประชุมเรื่อง การบูรณาการงานด้านสระบุรี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม 202 ชั้น 2 อาคารจามจุรี 3 สำนักงานมหาวิทยาลัย โดยเป็นการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานของโครงการ

สรุปประเด็นการประชุม

โครงการ สระบุรี ชุมชนเข้มแข็ง ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างศักยภาพของชุมชนสระบุรีให้เข้มแข็ง ให้เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และหวังให้มีองค์ความรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาของชุมชนบนพื้นฐานของการพึ่งพาตัวเอง และพึ่งพาซึ่งกันและกันในท้องถิ่น โดยเน้นถึงทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถที่จะร่วมกันสร้างรายได้ได้ และร่วมพัฒนาชุมชนสระบุรีให้อยู่ร่วมกันกับระบบนิเวศได้อย่างเกื้อกูล

เป้าหมายของโครงการ

  • เป้าหมายเชิงคุณภาพ ต้องการให้คนสระบุรีมีสุขภาวะ สามารถมีกิจกรรมที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดสวัสดิการชุมชนได้ มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีความปลอดภัยด้านอาหาร มีความมั่นคงภายในชีวิตภายใต้วิถีชีวิตในชุมชน มีความสามารถในการพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย
  • เป้าหมายเชิงปริมาณ คือคาดหวังให้ชุมชนสระบุรีมีแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำแผนนี้ ไปประกอบการจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นต่อไป และขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนที่ชุมชนมีส่วนในการตัดสินใจ

โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือกันระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย สสส. จะสนับสนุนเรื่องทุนส่วนหนึ่ง รวมถึงการเตรียมพื้นที่ โดยมีแนวคิดดังนี้

  • ดำเนินการในแนวทาง 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด
  • ผนวกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน (University Social Responsibility & Sustainability; USR&S) เข้าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงาน
  • ควรให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันของมหาวิทยาลัย และพื้นที่จังหวัดสระบุรี
  • กำหนดเป้าหมายของโครงการให้ชัดเจน ว่าจะดำเนินการในลักษณะใด ครอบคลุมในเรื่องใดบ้าง รวมทั้งในส่วนที่จุฬาฯ สามารถดำเนินการช่วยเหลือชุมชนได้อย่างไรบ้าง
  • นำประเด็นที่จุฬาฯ มีความเชี่ยวชาญหรือสนใจ สนับสนุน/ถ่ายทอด/ดำเนินงาน ให้เข้ากับความต้องการของพื้นที่
  • เปิดโอกาสให้คณะ/หน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการทำงานร่วมกับพื้นที่ ได้ดำเนินการในเรื่องที่ตนมีความเชี่ยวชาญ
  • เบื้องต้นให้ใช้ อ.แก่งคอย เป็นพื้นที่ดำเนินงาน โดยเริ่มจาก 3 ตำบล รอบพื้นที่ของมหาวิทยาลัย (ชำผักแพว ตาลเดี่ยว ห้วยแห้ง) เป็นพื้นที่หลักในการดำเนินงาน และพัฒนาพื้นที่ที่ดำเนินกิจกรรมให้เกิดเป็นต้นแบบแก่ชุมชนอื่น
  • กำหนดต้นแบบการทำงานร่วมกันของจุฬาฯ-สสส.
  • ควรมีการทำงานในลักษณะของการให้ท้องที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงาน
  • กำหนดขอบเขตพื้นที่ดำเนินการ และประเด็นปัญหาของพื้นที่ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินงาน
  • การสร้างความตระหนักในตนเองให้เกิดขึ้นได้ ต้องให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ เพื่อให้พื้นที่รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของ
  • การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก ควรทำพร้อมกันอย่างน้อย 3 ประเด็น เช่น ทำเรื่องสุขภาพ พร้อมกับเรื่องเด็ก และการเกษตร โดยให้มีเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องหลัก
  • สนับสนุน และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของสระบุรีไปพร้อมๆ การดำเนินงานส่วนอื่น
  • จัดเตรียมข้อมูลในประเด็นที่มหาวิทยาลัย/คณะ/สถาบัน/หน่วยงาน มีความสนใจ เพื่อนำมาผนวกกับข้อมูลจาก สสส. ว่าในแต่ละพื้นที่มีความเชี่ยวชาญ หรือต้องการให้พัฒนา/ช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง
  • จัดตั้งคณะทำงานในพื้นที่ และคณะทำงานกลางประสานงานร่วมกัน ระหว่างจุฬาฯ-สสส.
  • มีการประชุมร่วมกับผู้บริหารในระดับจังหวัด เพื่อให้รับทราบในภาพรวมว่า จุฬาฯ-สสส. จะดำเนินการอะไร พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากทางจังหวัด

หลักการที่จะสร้างชุมชนเข้มแข็ง ควรยึดหลัก 7ก

ประสบการณ์การดำเนินงานในชุมชน

  • พื้นที่จุฬาฯ ที่จังหวัดน่าน ประสบความสำเร็จด้านความต่อเนื่อง แต่ล้มเหลวในการบริหารจัดการ
  • ความสำเร็จที่เกิดในในจังหวัดน่าน เพราะชุมชนน่านให้การสนับสนุนและเข้มแข็ง
  • ในช่วงแรกของการดำเนินงานในจังหวัดน่าน นำด้วยการเป็นศูนย์เรียนรู้และการวิจัย การบริการชุมชนแทรกไปอยู่ในการวิจัย โดยการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงบริการ (Service Research) เป็นการวิจัยเพื่อต้องการนำผลวิจัยไปใช้กับประชาชน เช่น ในเรื่องของอาหาร จะเน้นเรื่องความมั่นคงกับความปลอดภัยของอาหาร ความมั่นคงคือการผลิตอาหารเพิ่มและอาหารที่ผลิตได้ต้องปลอดภัย โดยมีสาธารณสุขของน่านเข้าร่วมในงานวิจัย
  • การทำงานในจังหวัดน่าน เป็นลักษณะของการทำงานตามที่แต่ละคณะมีความเชี่ยวชาญ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม คณะศิลปกรรมศาสตร์ทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องศิลปวัฒนธรรม คณะอักษรศาสตร์ทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องภาษาชนเผ่า คณะบัญชีทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องบัญชีหมู่บ้าน
  • การทำงานในพื้นที่ ส่วนใหญ่มักจะทำตามความต้องการของคณะ/หน่วยงาน ไม่ได้ทำตามความต้องการของพื้นที่ ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืน
  • จุฬาฯ มักดำเนินงานเดี่ยวๆ ไม่ประสานกับพื้นที่
  • พื้นที่น่าน พูดถึงจุฬาฯ ว่า “จุฬาฯ เป็นเกาะลอย เป็นเทวดาอยู่คนเดียว ทำตัวเหนือคนอื่นหมด”
  • สมเด็จพระเทพฯ มีพระราชดำริว่า ถ้าโรงเรียนสาธิตเกิดขึ้นที่สระบุรี  โรงเรียนอื่นตายหมด ทำไมไม่ทำให้โรงเรียนอื่นรอบบ้านเป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานแบบโรงเรียนสาธิต
  • นิสิต OCARE ไปทำฝายที่จังหวัดน่าน โดยมีแนวคิด 3 หลัก
    • เราได้อะไร
    • พื้นที่ได้อะไร
    • ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แนวทางการดำเนินงานในชุมชน

  • การทำงานในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ควรนำบทเรียนในอดีตมาเรียนรู้
  • นโยบายภาครัฐอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ไม่ควรวางใจในตัวผู้บริหารระดับจังหวัดมากนัก
  • คณะจิตวิทยาควรทำการสำรวจทัศนคติของคนในจังหวัดสระบุรี เกี่ยวกับเรื่องที่มหาวิทยาลัยมีแผนในการดำเนินงานในพื้นที่ พร้อมทั้งสำรวจความต้องการของชุมชนด้วย
  • ต้องมีการสำรวจความต้องการของพื้นที่ก่อนการดำเนินงาน
  • ควรทำสำรวจใน 3 กลุ่มหลัก คือ ชุมชน โรงเรียน วัด (ครู ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. สอ. โรงพยาบาล)
  • การเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ได้หมายถึงการมีอาคารอยู่ในอำเภอแกงคอย แต่หมายถึงชีวิตและจิตใจของคนสระบุรีต้องมาอยู่ร่วมกับจุฬาฯ เมื่อนั้นความยั่งยืนจะเกิดขึ้น
  • โครงการจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัย บ้าน วัด และโรงเรียน
  • การให้เกียรติพื้นที่ ผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กร ควรร่วมลงพื้นที่
  • จิตสาธารณะ ถือเป็นส่วนที่สำคัญในการทำให้โครงการประสบความสำเร็จ
  • การทำงานในพื้นที่ ต้องมีตัวเชื่อม ต้องทำเป็น Translational Research ไม่ใช่ Population Research, Clinical Research หรือแม้แต่ Basic Research แต่คือการทำสิ่งเรียนรู้หรือเข้าใจได้ยาก ให้เข้าใจได้ง่าย
  • ระบบบริหารจัดการต่างๆ จำเป็นต้องมีตัวเชื่อม (Facilitator, Change Agent) โดยสามารถทำให้เชื่อมกันได้ ด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้าน
  • ไม่ควรนำสื่อมวลชน เข้ามาเป็นตัวเชื่อม
  • ใช้การศึกษา การอาชีพ เป็นตัวเชื่อมได้ดี
  • เปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีสิทธิ์เลือกว่าสิ่งใดจะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนของตน โดยทางมหาวิทยาลัยร่วมเสนอทางเลือกให้แก่ชุมชน
  • ปัญหาเรื่องความต่อเนื่อง หรือความยั่งยืน สามารถแก้ได้ด้วยการกำหนดพื้นที่เป้าหมายคงที่ แล้วดำเนินการในเชิงประจักษ์
  • ควรเรียนรู้สิ่งที่ได้ จากโครงการ OFOC ที่ผ่านมา
  • การทำงานในพื้นที่ ควรประสานกับชุมชน เนื่องจากความต้องการของชุมชนจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
  • พื้นที่เบื้องต้นในการดำเนินงาน ใช้พื้นที่อำเภอแก่งคอยเป็นหลัก และอาจเพิ่มอีก 1 อำเภอ
  • กิจกรรมต่างๆ อาจทำในลักษณะของการ Demonstration ให้ชุมชนได้เข้ามาเรียนรู้
  • ต้องหา Need Assessment ของพื้นที่ว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำมาพัฒนาเป็นโครงการ
  • ควรให้มีตัวแทนจากคณะบัญชี เข้าร่วมกิจกรรมในแง่ของการสร้างช่องทางกระจายสินค้าของพื้นที่

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • ในมหาวิทยาลัยมี Global KM จำนวนมาก ซึ่งบางครั้งไม่สามารถไปกันได้กับ Local KM ซึ่งมีลักษณะเป็นภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมของพื้นที่นั้นๆ
  • เปิดโอกาสให้แต่ละท้องถิ่นเลือก KM ก็คือการกระจายความรู้ที่คิดว่ามีประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ไปทำลายสิ่งเดิมที่ชุมชนมีอยู่ ให้พื้นที่ได้พัฒนาจากสิ่งที่พื้นที่มีอยู่แล้วไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
  • Universal KM คือ สัจธรรม ถ้าทั้ง Global และ Local ไม่ไปด้วยกัน Universal KM ก็จะจัดการในส่วนนี้เอง เพราะฉะนั้นต้องมีส่วน ศาสนาหรือความเชื่อ ต้องไปพร้อมกันทั้งมหาวิทยาลัยและองค์กรส่วนท้องถิ่นที่
  • ควรทำความรู้จักกับ Local KM ก่อน เพื่อจะได้ดัดแปลง Global KM ให้เข้ากับพื้นที่ได้ดี
  • แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ในพื้นที่สระบุรีเป็นเป็นอย่างไร
  • เนื่องจากจุฬาฯ เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีองค์ความรู้ครบทุกเรื่อง ถ้าสามารถทำให้พื้นที่สระบุรีเป็นเหมือนเมืองจำลอง ในลักษณะของการเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ โดยจุฬาฯ ไปในลักษณะให้การสนับสนุนต่างๆ สร้างองค์ความรู้ให้ยั่งยืน
  • หากการดำเนินงานประสบปัญหา ทางมหาวิทยาลัยสามารถหาทางแก้ปัญหาด้วยองค์ความรู้จากหลากหลายคณะ
  • องค์ความรู้ของจุฬาฯ ต้องมีการปรับให้เข้าใจได้ง่าย เหมาะกับชุมชน
  • นโยบายของมหาวิทยาลัยคือ “งานวิจัยอะไรที่ไม่สามารถทำได้ที่สามย่านให้ไปทำที่สระบุรี”

Comments (0)

Leave a comment

You are commenting as guest.

ติดต่อเรา

โครงการสระบุรีชุมชนเข้มแข็ง
อาคารจามจุรี 3 ชั้น 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถ.พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : 02 218 3383 โทรสาร : 02 218 3396
อีเมล์ : hcuchula@gmail.com

แผนที่สำนักงาน